วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
หินที่สนใจ
หาการวิบัติของ slopeชั้นดินและ slopeชั้นหิน
ดินถล่ม (Landslide)
ดินถล่มคืออะไร? ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ทำให้มวลดินและหินเคลื่อนตัวด้วยเสมอ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว
กระบวนการเกิดดินถล่ม
- ** เมื่อฝนตกหนัด น้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง
ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นจะทำให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง - ** เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูงก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน ลงมาตามความชันของลาดเขา
- ** เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นน้ำผุดและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
- ** เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้ว ก็จะเกิดต่อเนื่องขึ้นไปตามลาดเขา
รูปแบบของดินถล่ม
- หินแตกไหล
- ดินถล่มเนื่องจากการสร้างถนน
- ดินถล่มใต้น้ำ
- หินร่วง หรือหินหล่น
- เศษตะกอนไหลเลื่อนตามทางน้ำ
- หน้าผาผุกร่อน
- ตลิ่งพัง
- ดินถล่ม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม
- ** พื้นที่เป็นหินแข็งเนื้อแน่นแต่ผุง่าย
- ** มีชั้นดินสะสมตัวหนาบนภูเขา
- ** ภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน ที่ลาดเชิงเขา หุบเขาและหน้าผา
- ** ป่าไม้ถูกทำลาย
- ** มีฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
- ** ภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่น พายุ, แผ่นดินไหว และไฟป่า
ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
ลักษณะของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม มักเป็นพื้นที่ที่อยู่ตามลาดเชิงเขา หรือบริเวณที่ลุ่มที่ติดอยู่กับภูเขาสูงที่มีการพังทลายของดินสูง หรือสภาพพื้นที่ต้นน้ำที่มีการทำลายป่าไม้สูง นอกจากนั้นในบางพื้นที่อาจเป็นบริเวณภูเขาหรือหน้าผาที่เป็นหินผุพังง่าย ซึ่งมักก่อให้เกิดเป็นชั้นดินหนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่หินรองรับชั้นดินนั้นมีความเอียงเทสูง และเป็นชั้นหินที่ไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้สะดวก ลักษณะดังกล่าวทั้งหมดพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้กรมทรัพยากรธรณีกำลังทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล สำรวจเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมของพื้นที่เบื้องต้น และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น พบว่าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มอยู่บริเวณลาดเชิงเขาและที่ลุ่มใกล้เขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยต่อดินถล่มมาก เนื่องจากเมื่อมีพายุฝนตกหนักต่อเนื่องจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มตามมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ดังนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงควรให้ความสนใจและระมัดระวังเป็นพิเศษ
ดินถล่ม (Landslide)
ดินถล่มคืออะไร? ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ทำให้มวลดินและหินเคลื่อนตัวด้วยเสมอ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว |
กระบวนการเกิดดินถล่ม
- ** เมื่อฝนตกหนัด น้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง
ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นจะทำให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง - ** เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูงก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน ลงมาตามความชันของลาดเขา
- ** เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นน้ำผุดและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
- ** เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้ว ก็จะเกิดต่อเนื่องขึ้นไปตามลาดเขา
รูปแบบของดินถล่ม
|
ปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม
|
ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ลักษณะของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม มักเป็นพื้นที่ที่อยู่ตามลาดเชิงเขา หรือบริเวณที่ลุ่มที่ติดอยู่กับภูเขาสูงที่มีการพังทลายของดินสูง หรือสภาพพื้นที่ต้นน้ำที่มีการทำลายป่าไม้สูง นอกจากนั้นในบางพื้นที่อาจเป็นบริเวณภูเขาหรือหน้าผาที่เป็นหินผุพังง่าย ซึ่งมักก่อให้เกิดเป็นชั้นดินหนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่หินรองรับชั้นดินนั้นมีความเอียงเทสูง และเป็นชั้นหินที่ไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้สะดวก ลักษณะดังกล่าวทั้งหมดพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้กรมทรัพยากรธรณีกำลังทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล สำรวจเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมของพื้นที่เบื้องต้น และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น พบว่าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มอยู่บริเวณลาดเชิงเขาและที่ลุ่มใกล้เขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยต่อดินถล่มมาก เนื่องจากเมื่อมีพายุฝนตกหนักต่อเนื่องจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มตามมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ดังนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงควรให้ความสนใจและระมัดระวังเป็นพิเศษ |
ข้อมูลหลุมเจาะ
- แผนที่ตั้งโครงการ 1
- Boring Log BH-3.1
- Boring Log BH-4.1
- Bor ing Log BH-5.1
- Boring Log BH-6.1
- Boring Log BH-7.1
- Boring Log BH-8.1
- Boring Log BH-9.1
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- สุราษฎร์ธานี
เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนพื้นเมือง ได้แก่ พวกเซมัง และมลายูดั้งเดิมซึ่งอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอนก่อนที่ชาวอินเดียจะอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งและเผยแพร่ วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนโบราณที่ อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา เป็นต้น
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานปรากฏว่าเมืองนี้ได้รวมกับอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่าเมือง “กาญจนดิษฐ์” ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑล ได้รวมเมืองทั้งสามเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา ต่อมา พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา มาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองแห่งคนดี
สุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพฯ 685 กิโลเมตร มีพื้นที่ 12,891 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าดิบชื้นที่อุดมด้วยความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ป่า และยังมีหมู่เกาะที่มีชื่อเสียง น้ำทะเลใส หาดทรายขาว อาทิ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และเกาะนางยวน ซึ่งแต่ละเกาะมีความหลากหลายของธรรมชาติแตกต่างกันไป
- อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก ติดต่ออ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง
- สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
- เกาะสมุย
- เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน)
- เกาะพะงัน
อยู่ห่างจากเกาะสมุยไปทางทิศเหนือ ประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที และอยู่ห่างตัวจังหวัด 100 กิโลเมตร เกาะพะงันมีเนื้อที่ 170 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะที่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ภูมิประเทศของเกาะพะงันมีภูเขาอยู่ตรงกลางเกาะ ทอดตัวจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีที่ราบทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาจดทะเล บางแห่งก็มีอ่าวเล็กอ่าวน้อยเรือเข้าจอดได้เป็นบางฤดู ช่วงมรสุมตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม จะมีลมตะวันออกพัดผ่านซึ่งไม่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว เกาะพะงันมีชายหาดขาว น้ำทะเลใสน่าเล่นน้ำหลายหาด ร่มรื่นด้วยทิวไม้ริมชายหาด ความเงียบสงบของชายหาดต่าง ๆ บนเกาะเป็นเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวจะได้พบ
| ||
|
| ||
|
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
Taylor's Chart
lope stability concepts
If there are loading outside the toe that prevent the circle from passing below the toe, the long dashed curved should be used to determine the developed cohesion. Note that the solid and the long dashed curves converge as n approaches zero. The circle represented by the curves on the left of n = 0 does not pass below the toe, so the loading outside the toe has no influence on the developed cohesion.
Taylor's ChartStability assessments of earth slopes require limit state calculations,
which differ significantly from those in structural engineering.
This is because the weight of the soil constitutes the main
load on slopes, yet it contributes to forces both resisting and driving
the collapse. These forces depend on the mode of failure and
the particular geometry of the failure mechanism. Consequently,
the safety factor cannot be defined as a ratio of the limit load to
the working load ~both being ill-defined for slopes!, but is usually
defined as a function of the strength of the soil. Typically, the
strength of the soil is described by the Mohr–Coulomb yield condition
as a function of the cohesion, c, and the internal friction
angle, w. A common definition of the factor of safety ~F! is the
ratio of the shear strength of the soil to the shear stress necessary
to maintain limit equilibrium
Taylor's stability chart is the main tool used for engineering analysis of simple homogeneous slope stability problems. It is likely that this situation will continue in the future. One of the main deficiencies of Taylor's original presentation is that it does not provide a convenient, general tool for establishing the critical slip circle associated with a given stability problem. Critical circles define the extent of the potentially unstable zone, and this information is quite useful in many practical situations. The present work completes Taylor's classical investigation of stability of homogeneous slopes, and presents the tools necessary in order to establish not only stability numbers (safety factors), but also critical slip circles associated with those numbers. The information defining critical slip circles is presented in a simple chart form which is convenient for practical applications.
สิ่งก่อสร้างที่ประทับใจเกี่ยวกับหิน
เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง ๑๓ ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๓๒ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยา
LandMark
หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมพ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)
หลายคนเข้าใจว่าบิกเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมด
บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป
เหตุผลที่เลือกเรียนวิชา CEN370
1. ถ้าไม่เรียนคงยื่นเรื่องจบไม่ได้
2. เรียนวิศวกรรมโยธา ถ้าไม่รู้เรื่องลักษณะทางธรณีวิทยาไปเรียนอย่างอื่นดีกว่าไหม
3. สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในการทำงานต่อไปได้ในอนาคต
4. ทำให้รู้อะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยา คุณสมบัติและความสามารใน
ด้านต่างๆ ของชั้นดินชั้นหินและสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้
สถาปนิกที่ฉันชื่นชอบ
Here are some of his masterpieces:
Guggenheim Museum
Kaufmann House